คำตอบ พ.ร.บ.คืออะไร และ ทำไมต้องทำ

5คำตอบ พ.ร.บ.คืออะไร และ ทำไมต้องทำ

ทำไมต้องทำ พ.ร.บ.? ถ้าไม่ซื้อ พ.ร.บ. ล่ะจะได้มั้ย? นี่คือคำถามยอดฮิตที่โปรประกันได้คัดมาจากหลายคำถามที่ฝากไว้ ประเด็นเหล่านี้เป็นที่สงสัย บ้างก็ว่าจำเป็นต้องทำถ้าไม่ทำจะผิดกฎหมาย หรือ ถ้าไม่ทำก็ไม่เห็นเป็นอะไรไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย วันนี้โปรประกันมีคำตอบที่จะไขข้อข้องใจให้กับทุกท่าน ไปดูกันเลยค่ะ

 

1. “พ.ร.บ.” คือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่ทางผู้ขับขี่รถยนต์ และ รถจักยานยนต์ต้องทำ ตามกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ว่าด้วยยานพาหนะทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกต้องทำประกันภัยประเภทนี้ไว้เพื่อให้ความคุ้มครองกับบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะดูแลให้ทั้งค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องทำและไม่ควร ปล่อยปะละเลยเพื่อประโยชน์ต่อรถของเราและผู้ใช้รถใช้ถนนด้วยนะคะ

 

2. “พ.ร.บ.” เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการต่อภาษีรถยนต์ และ รถจักยานยนต์ ประจำปี ซึ่งกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องทำโดยสามารถดำเนินการล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือ ไม่เกิน 90 วัน” ดังนั้นการต่อ พ.ร.บ ก่อนหมดอายุก็จะทำเราอุ่นใจ เผื่อหลงลืมไปไม่ได้ต่อ หรือ ขาดต่อไปจะเกิดปัญหาขึ้นมาได้นะคะ

 

3. “พ.ร.บ” ถือว่าเป็นเอกสารสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าของรถต้องทำถ้าไม่ทำจะผิดกฎหมายและจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท อีกทั้งการนำรถไปใช้โดยไม่ได้ทำ พ.ร.บ.หากผู้ใดฝ่าฝืน ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท อีกเช่นกัน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของรถหรือแม้จะไม่ใช่เจ้าของรถแต่เป็นเพียงผู้ใช้รถก็มีโทษปรับเช่นกันนะคะ

 

4. “พ.ร.บ” จะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ บุคคล” เท่านั้น ไม่ดูแล รถ หรือ ทรัพย์สินที่เสียหายจากอุบัติเหตุ ซึ่งจะตรงกับคำนิยามที่ว่า พ.ร.บ. คุ้มครอง “คน” แต่ไม่คุ้มครอง “รถ” นั่งเองค่ะ เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับผู้ที่ประสบภัยจากรถ ทุกคนจะได้รับความคุ้มครองที่เรียกว่าค่าเสียหายเบื้องต้นซึ่งจะรับผิดชอบโดยบริษัทประกันภัยที่ทำไว้และชดเชยให้ กับผู้เสียหายภายใน 7 วัน โดยไม่ต้องตรวจสอบว่าใครถูกหรือผิด อีกทั้ง

  • ค่ารักษาพยาบาลจะรับผิดชอบตามการรักษาจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อคน
  • หากเสียชีวิตก็จะจ่ายเป็นค่าปลงศพจำนวน 35,000 บาท
  • หลังจากได้พิสูจน์ความรับผิดแล้ว ในกรณีฝ่ายถูกทางบริษัทประกันภัยก็จะจ่ายเป็น “ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด” ตามการรักษาจริง ไม่เกิน 50,000 บาท (รวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นที่ชดเชยไปแล้วทั้งหมดไม่เกิน 80,000 บาท)
  • หากเสียชีวิตก็จะจ่าย 500,000 บาท
  • สำหรับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจะได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

อย่างไรก็ตามการจ่ายผลประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ฉบับใหม่นั้นทางผู้เสียหายหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับจากทางบริษัทประกันภัยโดยจะยึดตาม วันที่เกิดอุบัติเหตุ”

ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. ซื้อ พ.ร.บ. ช่วงวันที่ 1 มกราคม 2563 จากนั้นช่วงวันที่ 10 เมษายน 2563 รถเกิดเหตุถูกคู่กรณีเฉี่ยวชนได้รับบาดเจ็บรักษาตัวที่รพ.เป็นระยะเวลา 10 วันต่อมาเสียชีวิต นายก.จ่ายค่ารักษาพยาบาลในครั้งนี้ไป 80,000 บาท ดังนั้นผู้รับผลประโยชน์หรือทายาทของนาย ก.จะได้รับสินไหมค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกรมธรรม์คือ

  • ค่ารักษาพยาบาลจำนวน 30,000 บาท และ ค่าปลงศพจำนวน 35,000 บาท รวมกันเป็นยอด 65,000 บาท
  • หลังจากพิสูจน์แล้วปรากฎว่า นาย ก. เป็นฝ่ายถูกทางบริษัทประกันภัยจ่ายเพิ่มเติมให้อีกจำนวน 437,000 บาท รวมเป็นยอด 502,000 บาท (ค่ารักษาพยาบาล 80,000 บาท + สินไหมกรณีเสียชีวิต 435,000 บาท + เงินชดเชยในการนอนโรงพยาบาล 200/วัน X 10วัน = 2,000 บาท)
  • แต่ถ้า นาย ก. เกิดอุบัติเหตุก่อนช่วงวันที่ 1 เมษายน 2563 จะได้ค่าสินไหมทดแทนแบบเดิม

โดยผลประโยชน์ความคุ้มครองที่กล่าวมานั้นปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนใหม่จากทาง ค.ป.ภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ทางโปรประกันจึงทำตารางเปรียบเทียบมาให้ทุกท่าน ไปดูกันเลยค่ะ

5. การเบิกเคลม พ.ร.บ. นั้นมีขั้นตอนง่ายๆ อันดับแรกทุกท่านต้องแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ที่สถานีตำรวจจากนั้นก็เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและแจ้งสิทธิที่เราต้องการใช้ แต่ถ้าในกรณีสำรองจ่ายให้เตรียมเอกสารเพื่อตั้งเบิกกับทางบริษัทประกันที่ทำไว้ ดังนี้

  • ใบเสร็จรับเงิน
  • ใบรับรองแพทย์
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
  • เอกสารบันทึกประจำวัน
  • สำเนาหน้าบัญชีธนาคารของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

ข้อควรระวัง: ทุกท่านควรซื้อ พ.ร.บ.ให้เป็นบริษัทเดียวกับประกันภัยภาคสมัครใจเพื่อความสะดวกในการยื่นเรื่องตั้งเบิกสินไหมนะคะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับคำตอบทั้ง 5 ของโปรประกันคงสามารถคลายความสงสัยให้กับทุกท่านไปได้เยอะพอสมควรเลย ดังนั้น พ.ร.บ.คือสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด และ ยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะชดใช้ให้กับทางฝั่งคู่กรณีรวมถึงตัวเราเองด้วยนะคะ ในครั้งหน้าโปรประกันจะมีเรื่องราวดีๆอะไรมาฝากอย่าลืมติดตามกันนะคะ