วิธีช่วยลดค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์

5 วิธีช่วยลดค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์

1.ระบุชื่อผู้ขับขี่

ถ้ารถคันนี้เราขับคนเดียวหรือมีคนอื่นขับร่วมกันสามารถซื้อประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ก็ถือว่าช่วยลดเบี้ยประกันได้ถึง 1000-2000 บาทเลยทีเดียวส่วนการรุบะชื่อผู้ขับขี่นั้นสามารถระบุชื่อคนขับได้สูงสุด 2 คน ซึ่งการคำนวณส่วนลดค่าประกันจะคำนวณจากอายุของผู้ขับขี่ หากระบุผู้ขับขี่ 2 คน ก็จะใช้อายุของคนที่น้อยที่สุดในการคำนวณ เนื่องจากคนที่อายุน้อยกว่าจะมีประสบการณ์ขับขี่ที่น้อยกว่าคนที่อายุมากนั่นเอง

ดังนั้นหากเราขับขี่รถแค่คนเดียวหรือขับร่วมกับแฟนหรือคนในครอบครัวเป็นประจำวิธีนี่ก็จะเหมาะกันกับเราและตอบโจทย์ในการซื้อประกันเป็นอย่างมาก

แต่การซื้อประกันแบบระบุชื่อก็มีความเสี่ยงอยู่เหมือนกัน ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่คนอื่นที่เราไม่ได้ระบุชื่อนำรถเราไปขับขี่และเกิดชนขึ้นมาประกันจะเรียกเก็บค่าเสียหายส่วนแรกถึงจำนวน 8,000 บาท โดยแบ่งเป็นค่าเสียหายที่ชนรถคู่กรณี 2,000 บาท และค่ารับผิดชอบซ่อมรถเราอีก 6,000 บาท เพราะถือว่าทำผิดเงื่อนไขประกัน ดังนั้นการที่เราจะใช้ประกันแบบระบุชื่อต้องมั่นใจว่าเราเป็นผู้ขับขี่หรือคนที่ระบุขับเป็นประจำแน่อยู่แล้ว ไม่แนะนำให้ระบุชื่อเพราะถึงเราได้ลดค่าประกันก็จริง แต่ถ้าทำผิดเงื่อนไขขึ้นมาก็จะทำให้เสียเงินเพิ่มขึ้นไปอีก

2.ติดค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible)

เป็นการซื้อประกันที่มีการติด DD (Deductible) ในหน้ากรมธรรม์ โดยเงื่อนไขของกรมธรรม์ประเภทนี่มีเงื่อนไขอยู่ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิด หรือไม่มีคู่กรณีจะต้องจ่ายค่า DD ตามที่ระบุไว้หน้ากรมธรรม์ ให้กับประกันภัยก่อนทุกครั้งที่มีการเคลม ซึ่งค่า DD ที่ติดหน้ากรมธรรม์ก็จะมีจำนวนที่แตกต่างกันไปประมาน 2,000-5,000 แล้วแต่เงื่อนไขของบริษัทประกันภัย ดังนั้นถ้าเราจะซื้อประกันภัยแบบติดค่าเสียหายส่วนแรกต้องมั่นใจในการขับขี่ของตัวเองเป็นอย่างมากว่าเราจะไม่ชนใครหรือไม่เคลมอุบัติเหตุเลย ถ้าหากมั่นใจในการขับขี่ก็สามารถซื้อเงื่อนไขนี้ได้เลย

3. อะไหล่

หากเราเข้าซ่อมที่อู่ อู่จะเป็นผู้จัดหาอะไหล่ เราไม่สามารถเช็คได้ว่าอะไหล่เป็นอะไหล่แท้หรืออะไหล่ใหม่หรือไม่ ต่างกับการจัดซ่อมศูนย์เพราะศูนย์เป็นผู้จำหน่ายอะไหล่ก็จะทำให้เรามั่นใจได้ว่าอย่างไร อะไหล่ก็ต้องเป็นอะไหล่ใหม่และอะไหล่แท้แน่นอน

3.1 ประสบการณ์ช่างซ่อม

หากเป็นอู่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าช่างแต่ละคนทำหน้าที่อะไรบ้างและมีประสบการณ์มากน้อยขนาดไหน เราอาจจะเคยได้ยินหลายครั้งที่บางอู่แก้ไขงานซ่อมออกมาไม่เรียบร้อย ทำให้ลูกค้าที่เข้าซ่อมเกิดความไม่พอใจและมีการร้องเรียนอู่ซ่อมเรื่องการซ่อมที่ไม่เรียบร้อย

ส่วนถ้าเราซ่อมที่ศูนย์บริการที่มีช่างซ่อม แบ่งหน้าที่ชัดเจน ช่างพ้น ช่างเคาะ ช่างขัด คุณภาพสีและงานซ่อมมีมาตรฐานตามสูตรของยี่ห้อรถนั้นๆ รวมถึงรับประกันคุณภาพงานซ่อมจากศูนย์ 6-12 เดือน หากงานซ่อมไม่เรียบร้อยก็สามารถนำรถกลับให้ศูนย์แก้ไขงานได้ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในกรณีที่นำเข้ารถเข้าซ่อมอีกด้วย ดังนั้นหากคิดจะซื้อเบี้ยซ่อมอู่ก็ต้องดูว่าอู่นั้นน่าเชื่อถือหรืองานซ่อมไม่มีปัญหา

หากเป็นอู่ที่เรารู้จักอยู่แล้วงานซ่อมไว้ใจได้ก็ถือว่าเราตัดปัญหาความกังวลตรงนี้ได้ เพราะถ้าเราซื้อเบี้ยซ่อมอู่จริงๆก็ช่วยประหยัดงบได้หลายพันเลยทีเดียว

3.2 สถานที่และการให้บริการ

ถ้าเป็นอู่ซ่อมรถเรื่องของสถานที่บางอู่อาจจะค่อนข้างเล็กไม่มีที่รับรองหรือคนดูแลลูกค้าแต่หากเป็นศูนย์บริการก็จะถูกแยกแบ่งโซนชัดเจน มีห้องรับรองลูกค้าทั้งอาหารว่าง เครื่องดื่ม ขนม คอมพิวเตอร์ Wi-fi ให้ลูกค้าได้มีพื้นที่ในการรอรถทำให้ลูกค้าที่มาใช้บริการเกิคความผ่อนคลายและสามารถรอรับรถได้โดยไม่เกิดความหงุดหงิด

4. ไม่เคลม(รักษาประวัติดี)

หัวข้อนี้อาจจะทำได้ยากสำหรับบางท่านที่เป็นมือใหม่หัดขับ เพราะการรักษาประวัติดีไม่มีเคลม จะทำให้เบี้ยประกันภัยลดลงทุกปีหมายความว่าค่าเบี้ยเราจะถูกลงเรื่อยๆ ตามประวัติที่สะสมปีละ 10% สะสมไปเรือยๆ ซึ่งถ้าเราสามารถขับขี่รถด้วยความระมัดระวังได้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะนอกจากเบี้ยประกันภัยจะลดลงแล้วก็จะทำให้อุบัติเหตุลดลงอีกด้วย ส่วนการไม่เคลม คือการแจ้งเคลมป็นฝ่ายผิดหรือเคลมไม่มีคู่กรณี ทั้งเคลมสดและเคลมแห้ง

  • เคลมสด คือการเคลมที่เกิดเหตุ ณ ตอนนั้นและแจ้งเคลมกับประกันภัยเพื่อให้ประกันภัยตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น
  • เคลมแห้ง คือเคลมที่ไม่มีพนักงานเคลมไปดูร่องรอยความเสียหาย ซึ่งอาจจะเคลมแบบไม่มีคู่กรณีก็ได้เช่น เฉี่ยวรั่ว ชนเสา รอยเล็กๆน้อยๆที่ไม่จำเป็นต้องแจ้งเคลมประกัน ณ ตอนนั้น เราสามารถแจ้งเคลมประกันตอนหลังเหตุการนั้นได้ โดยสามารถเปิดเคลมเองที่อู่หรือศูนย์คู่สัญญาของประกันภัยได้ด้วยตนเอง

ดังนั้นการเคลมทั้ง 2 รูปแบบนี้ส่งผลให้เกิดการประเมินความเสียหายขึ้น ทำให้ประกันภัยมีการปรับเบี้ยประกันภัยในปีต่ออายุครั้งหน้า ซึ่งถ้าหากเราสามารถขับขี่ด้วยความระมัดระวังได้เบี้ยประกันภัยก็จะลดทุกปีไปเรื่อยๆซึ่งถือว่าเป็นการช่วยลดค่าเบี้ยประกันและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก

5.ซื้อให้ตรงกับลักษณะการใช้รถ

คือการซื้อประกันภัยตามความเหมาะสมต่อการใช้รถหรือลักษณะการใช้งานของเรานั่นเอง เช่น การซื้อประกันตามไมล์ เนื่องจากรถไม่ค่อยได้ขับขี่ หรือนานๆ ขับที จะเลือกซื้อประกันภัยประเภทนี้เป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะเราซื้อตามจำนวนระยะทางที่ใช้รถเท่านั้นราคาก็จะลดลงมามากมากว่าชั้น 1 หากมั่นใจว่าใช้รถน้อยจริงๆ ก็สามารถซื้อได้ หากเราไม่สะดวกทำประกันชั้น 1 ซึ่งจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงและความต้องการการใช้รถน้อยอยู่แล้ว เราสามารถเลือกทำประกันชั้น 2 พิเศษ หรือ 3 พิเศษ ที่มีความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติม เช่น บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน และ คุ้มครองภัยธรรมชาติ (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่บริษัทประกันภัยกำหนด) ซึ่งความคุ้มครองดังกล่าว จะเป็นส่วนที่เพิ่มเติมมาให้ในประกันชั้น 2 พิเศษ หรือ 3 พิเศษ เพราะประกันประเภทนี้มีทุนประกันที่น้อยกว่าชั้น 1 อยู่แล้ว และความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลก็คุ้มครองน้อยกว่าอยู่แล้ว ดังนั้นถึงแม้เราซื้อประกันที่มีความคุ้มครองไม่สูงมากแต่ก็ควรเลือกประเภทที่มีความคุ้มครองอย่างอื่นเพิ่มเข้ามา ซึ่งปัจจุบันก็มีผลิตภัณฑ์ชั้น 2 พิเศษ 3 พิเศษ ที่ขายหลายช่องทางมีให้เลือกค่อนข้างหลากหลายเช่น การซื้อกับประกันภัยโดยตรง,ผ่านนายหน้าตัวแทน หรือการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งตอบโจทย์กับยุคนี้และสะดวกอีกด้วย แต่หากจะซื้อประกันผ่านช่องทางออนไลน์ ก็ต้องดูความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์นั้นๆด้วยว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน อย่างไรเราสามารถเลือกตามการใช้งานของเราได้เลย

 

ตามบทความข้างต้นเป็นแค่วิธีการที่ทาง Proprakan แนะนำเท่านั้นอาจไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมดที่ทำช่วยลดราคาเบี้ยประกันภัย แต่สิ่งที่ Proprankan อยากให้เพื่อนๆคำนึงถึง การซื้อตามลักษณะการใช้งานและตามกำลังซื้อของเรา ก่อนจะตัดสินใจซื้อเราควรศึกษาข้อมูลของประกันภัยแต่ละบริษัทเงื่อนไขของการรับประกัน เพราะบางครั้งการที่เราซื้อค่าเบี้ยประกันที่ถูกมากเกินไปอาจจะมีเงื่อนไขบางอย่างที่เรายังไม่ได้ศึกษาทั้งนี้เพื่อเราจะได้ ซื้อประกันภัยแบบปลอดภัยและเหมาะสมกับการใช้งาน และจะดีไปกว่านั้นหากเราซื้อผ่านตัวแทนหรือเว็บไซค์ที่น่าเชื่อถือและมีความเชี่ยวชาญด้านการให้บริการและเป็นกูรูในเรื่องประกันภัย