ทำความรู้จักโรคไข้ซิกา และเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเองจากโรค

ทำความรู้จักโรคไข้ซิกา และเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเองจากโรค

ในช่วงนี้มีข่าวการระบาดของโรคในบ้านเรา มาทำความรู้จักโรคไข้ซิกานี้ว่าคืออะไร และเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเองจากโรคนี้กันนะครับ โรคไข้ซิกาเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งอยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส (flavivirus)  มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยยุงที่เป็นพาหะนำโรคไข้ซิกาเป็นชนิดเดียวกันกับยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) และไข้เหลือง สาเหตุการติดเชื้อ เกิดจากการโดนยุงลายที่มีเชื่อไวรัสซิกากัด หรือการแพร่เชื้อผ่านทางเลือด จากมารดาสู่ทารกในครรภ์ หลังโดนยุงกัด เชื้อโรคซิกาจะมีระยะเวลาฟักตัวเฉลี่ย 4-7 วัน อาการที่พบบ่อยหลังจากติดเชื้อ คือ – มีไข้ – มีผื่นแดง – เยื่อบุตาอักเสบ – ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ – อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้จะไม่รุนแรงนัก และเป็นอยู่ 2-7 วัน แต่หากผู้ติดเชื้อเกิดตั้งครรภ์ อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ อาจทำให้เด็กคลอดออกมาแล้วมีสมองเล็ก (microcephaly) หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ การรักษา หากพบอาการผิดปกติข้างต้นควรรีบไปพบแพทย์ในทนที เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้ซิกา จะใช้การรักษาตามอาการ หากมีอาการปวดจะใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ ห้าม กินยาแอสไพรินหรือกลุ่ม ยาที่ลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ การป้องกัน – ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด ไม่ว่าจะใช้ยากันยุงทาตัวก่อนนอน ควรนอนกางมุ้ง ปิดมุ้งลวดไม่ให้ยุงเข้าบ้าน หรืออาจสวมเสื้อผ้ากันยาว – ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เทน้ำขังทิ้ง – หากมีไข้ มีผื่นแดง ตาแดง ปวดข้อ หรือมีอาการน่าสงสัย ควรรีบไปพบแพทย์ในทนที โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ – หลีกเลี่ยงการเดินทางไปประเทศที่มีการแพร่เชื้อโรคอยู่ ข้อควรจำเพื่อลดการแพร่เชื้อ  หาก 7 วันแรกที่มีอาการจะมีเชื้อไวรัสในกระแสเลือดจำนวนมาก ซึ่งหากถูกยุงกัดจะสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้มาก ไม่ควรปล่อยให้ตัวเองถูกยุงกัดในช่วงติดเชื้อ 7 วันแรกนะครับ moph.go.th

หญิงตั้งครรภ์และเด็กเล็ก ควรใช้สารทาป้องกันยุงที่สกัดจากธรรมชาติ

  ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก :: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ www.bumrungrad.com ภาพอินโฟกราฟฟิกจาก :: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th  

Comments are closed.