โปรแกรมขยายระยะเวลาการรับประกันอะไหล่รถยนต์ AUTO Warranty (AW) ไม่คุ้มครองอะไรบ้าง

การรับประกันอะไหล่รถยนต์ ไม่คุ้มครองอะไรบ้าง

หลายคนที่กำลังจะซื่อประกันภัยคุ้มครองสักฉบับ ย่อมจะต้องศึกษารายละเอียดความคุ้มครองและข้อยกเว้นที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์หรือเอกสารแนบท้ายให้ละเอียด เนื่องจากประกันภัยในแต่ละประเภทมีข้อกำหนดไว้อย่างชัดเจน อันไหนคุ้มครอง และ ไม่คุ้มครอง วันนี้โปรประกันมีข้อมูลการรับประกันอะไหล่รถยนต์ในส่วนของข้อยกเว้นไม่คุ้มครองมาฝาก ซึ่งจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

โปรแกรมขยายระยะเวลาการรับประกันอะไหล่รถยนต์ AUTO Warranty กำหนดข้อยกเว้นที่จะไม่คุ้มครองรถยนต์คันเอาประกันโดยจะแบ่งออกเป็น 16 ข้อดังนี้

  1. การรับประกันหรือบริการพิเศษ อื่นๆ อาทิ เช่น ฟรีค่าบำรุงรักษาตามระยะ รวมถึงการรับประกันของผู้ผลิตรถยนต์
  2. ความบกพร่องทางกลไกและไฟฟ้า ใดๆ อันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการบำรุงรักษารถยนต์ อาทิเช่น การไม่นำรถเข้าศูนย์บริการตามระยะเวลาและระยะทางที่กำหนดของผู้ผลิต
  3. การซ่อมแซมใดๆซึ่งเป็นผลมาจากการใช้งานรถยนต์ภายหลังจากที่มีความบกพร่อง หริอความผิดปรกติเกิดขึ้นกับรถยนต์(โดยรวมถึงการขาดแคลนน้ำมันหล่อลื่น และน้ำในระบบระบายความร้อน)
  4. ความเสียหายอันเนื่องมาจากการชนหรืออุบัติเหตุบนท้องถนน
  5. อะไหล่ที่อยู่นอกรายการอะไหล่คุ้มครองที่ระบุในสมุดการรับประกันและอุปกรณ์ตกแต่งเพิ่มเติมทุกชนิด
  6. การเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนคุ้มครองที่ยังคงใช้งานได้ตามปรกติ
  7. การแจ้งเคลมใดๆ ที่ทางบริษัทประกันภัยไม่ได้รับการติดต่อก่อนการซ่อมแซมจะเริ่มขึ้น และ ยังไม่ได้ออกหมายเลขอนุมัติให้
  8. เคลมใดๆ สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่ออะไหล่ที่ได้รับความคุ้มครองอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเสียหายของอะไหล่ที่ไม่คุ้มครอง
  9. การเรียกร้องใดๆ ที่เกิดจากความบกพร่องของอะไหล่ที่ไม่ได้มาตราฐานเทียบกับอะไหล่ที่ได้รับการติดตั้งโดยศูนย์บริการ
  10. การเรียกร้องใดๆ ที่มีความบกพร่องทางกลไกและไฟฟ้า เกิดขึ้นจากการใช้งานรถยนต์ที่ไม่ถูกต้อง เช่นการบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่กำหนดโดยผู้ผลิต
  11. การไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้รถยนต์ของผู้ผลิตรถยนต์ (ในหนังสือคู่มือเจ้าของรถยนต์) หรือความบกพร่องทางกลไกและไฟฟ้าอันเนื่องมาจากการใช้งานเกินขอบเขตที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนด
  12. ความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการดัดแปลงใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นที่ไม่ได้ติดตั้งมาพร้อมกับตัวรถจากโรงงาน
  13. รายการอะไหล่ใดๆ ที่ต้องมีการเปลี่ยนเป็นระยะๆ ในการซ่อมบำรุงรถยนต์ตามปรกติ ทั้งนี้ รายการอะไหล่ดังกล่าวจะประกอบด้วย ที่ปัดน้ำฝน ท่อยาง ผ้าเบรค วัสดุเสียดทาน ผ้าคลัช ระบบท่อไอเสีย ที่มีความเสียหายเกิดจากสนิมและการสึกกร่อน แบตเตอรี่ หลอดไฟ ยางรถยนต์ งานทำสีรถ ตัวถังรถ ชิ้นส่วนกระจก ขอบคิ้วหรือวัสดุตกแต่ง ยางแท่นเครื่อง บู๊ทช่วงล่าง โช๊คอัพ ลูกปืนล้อ ล้อแม็กซ์ และอุปกรณ์เครื่องเสียงและภาพ
  14. การบำรุงรักษา การปรับเปลี่ยนใดๆ การอัพเกรด การดัดแปลง และ/หรือ การปรับตั้งโปรแกรมที่จำเป็นแก่ อะไหล่ที่ได้รับการคุ้มครอง
  15. ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ปัญหาซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับเคลมที่อนุมัติ
  16. ความเสียหายไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่เกิดจากการสงคราม สงครามกลางเมือง การกบฎ การปฏิวัติ การใช้กำลังทางการทหารบังคับ การก่อการร้าย อันตรายจากนิวเคลียร์ ระเบิดคลื่นเสียงที่ทำลายอิเล็คโทรนิค ไฟไหม้ โจรกรรม พายุใต้ฝุ่น น้ำท่วมหรือเหตุการณ์ที่เกิดจากเหตุภายนอกอื่นๆ  

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ จากข้อมูลที่โปรประกันนำมาฝากในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อย นอกจากรายละเอียดความคุ้มครองที่ต้องศึกษาแล้วเงื่อนไขข้อยกเว้นก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่เราต้องให้ความสำคัญ เพราะถ้าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในข้อยกเว้นของการรับประกันแล้ว อาจจะทำให้เราเสียเวลาและเสียอารม์กับสิ่งที่เกิดขึ้นอีกด้วย #ใส่ใจรถที่คุณรัก ให้เหมือนกับคนใกล้ตัวนะคะ