สารบัญ
โดยข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ระบุว่า “โรคมะเร็ง” ถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เพราะมีมีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นอย่างต่อต่อเนื่องทุกปี โดยสถิติในปี 2562 พบว่า มีผู้ป่วยรายใหม่ 139,206 คนต่อปี หรือวันละ 381 คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 84,073 คนต่อปี หรือวันละ 230 คน
โรคมะเร็งสมอง คือ โรคที่เกิดจากเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายบริเวณสมอง และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
อาจเกิดขึ้นเองที่เนื้อเยื่อสมอง หรือจากการลุกลามของมะเร็งจากอวัยวะอื่น มีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น การสัมผัสสารเคมี การสูบบุหรี่ หรือประวัติการเกิดโรคมะเร็งของสมาชิกในครอบครัว
อาการโรคมะเร็งสมอง
โดยทั่วไปผู้ที่เป็นโรคมะเร็งสมองอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดศีรษะ โดยจะมีอาการรุนแรงในตอนเช้า
- คลื่นไส้ อาเจียน
- เป็นลมหมดสติ
- ซึม
- ชัก
- อ่อนแรงและชาบริเวณแขนและขา
- กล้ามเนื้อกระตุก
- มีปัญหาการทรงตัว หรือเดินลำบาก
- มีปัญหาทางความคิด สติปัญญา อารมณ์ หรือสูญเสียความทรงจำ
- มีปัญหาในการพูด
- มีปัญหาในการมองเห็น
- มีปัญหาบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
อาการร่วมควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
- อาเจียนบ่อยและไม่สามารถอธิบายสาเหตุของการอาเจียนนั้นได้
- มองเห็นภาพซ้อน มองไม่ชัด โดยเฉพาะที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง
- ง่วงซึม หรือง่วงนอนอย่างผิดปกติ
- ปวดศีรษะอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
สาเหตุของการโรคมะเร็งสมอง
ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่ามะเร็งสมองเกิดจากสาเหตุใด มีเพียงปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งสมองได้ เช่น
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น
- พฤติกรรมการสูบบุหรี่มาเป็นเวลานาน
- มีประวัติการเกิดโรคมะเร็งสมองกับสมาชิกในครอบครัว
- เป็นโรคมะเร็งในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่สามารถแพร่กระจายมายังสมองได้
- เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งไต มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (Melanoma)
- การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV)
- การสัมผัสสารกัมมันตภาพรังสี สารเคมี รวมไปถึงยากำจัดศัตรูพืชที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
- การทำงานเกี่ยวกับสิ่งที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น พลาสติก ตะกั่ว ยาง น้ำมัน รวมถึงสิ่งทอบางชนิด
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งสมอง
อาจได้รับการรักษาที่มากกว่าหนึ่งวิธี ขึ้นอยู่กับประเภท ขนาดและตำแหน่งของเนื้อร้าย รวมไปถึงอายุและปัญหาหรือเงื่อนไขทางการแพทย์อื่น ๆ ของผู้ป่วย
วิธีการรักษาอื่น ๆ ที่ใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งสมอง
- การผ่าตัด เพื่อทำการกำจัดเนื้องอกที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดเซลล์มะเร็ง
- การรักษาด้วยรังสี (Radiation Therapy) คือการฉายแสงที่มีพลังงานสูงเพื่อทำลายลดการขยายตัวและหยุดการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย
- การทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือที่เรียกว่าการทำคีโม โดยจะมีการทำเป็นรอบๆ เพือให้ผู้ป่วยได้พักฟื้น ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงในการทำได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นต้น
ในการรักษาผู้ป่วยบางรายอาจได้รับผลกระทบซึ่งมีผลทำให้การใช้ชีวิตประจำวันจึงต้องมีแนวทางการฟื้นฟูร่างกายโดยการรักษาแบบทางเลือก เช่น การกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์การกินอาหารเสริม การใช้สมุนไพร แต่ควรปรึกษาแพทย์ด้วยเพื่อให้เลือกวิธีที่เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคน
ประมาณการค่าฉายรังสีมะเร็งสมอง
สำหรับ มะเร็งสมอง เทคนิค IMRT/VMAT (30 ครั้ง) จะมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าจำลองการฉายรังสี (CT Simulation) 8,500 บาท
- MRI Simulation 8,000 บาท
- ค่าหน้ากาก 6,000 บาท
- ค่าฉีดสารทึบรังสี 1,500 บาท
- ค่าคำนวณ 10,000 บาท
- ค่าฉายรังสี (4,000 บาท x 30 ครั้ง) 120,000 บาท
- ค่า CBCT 10,800 บาท
- รวม 164,800 บาท
*ในเวลาราชการ
ค่าใช้จ่ายที่เราเห็นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเราจะเห็นว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคมะเร็งจะสูงมาก และนอกจากนี้ยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตประจำวันอื่นๆ ของเราอีก
คำถามต่อมาที่เราต้องถามตัวเอง คือ หากเกิดโชคร้ายเป็นโรคร้ายขึ้นมาเราจะมีเงินเก็บพอที่จะรักษาตัวเองหรือเปล่า? หรือเราต้องเป็นภาระให้กับครอบครัว
จะดีกว่าไหมคะถ้าวันนี้เราได้ทำประกันโรคมะเร็งไว้ เพราะอย่างน้อยการมีประกันโรคมะเร็งหากเราตรวจเจอโรคมะเร็งเราจะได้รับเงินก้อน และนอกจากนี้ยังมีส่วนของค่ารักษาต่อเนื่องเพื่อใช้ในการรักษาตัวอีกด้วย
การป้องกันโรคมะเร็งสมอง
ในปัจจุบัน การแพทย์ยังไม่สามารถหาวิธีการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งสมอง แต่สามารถปฏิบัติตัวตามแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งสมองได้
โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น ยาฆ่าแมลง สารเคมีสารกัมมันตภาพรังสี รวมถึงลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เป็นต้น
เป็นยังไงกันบ้างคะเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ เรารู้แล้วว่าโรคมะเร็งสมองอาจใกล้ตัวเรากว่าที่คิด วิธีที่ดีที่สุดคือ เราต้องหมั่นดูแลตัวเองโดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น
- เรื่องของอาหารการกิน เราอาจจะต้องเลือกอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกาย ลดพวกไขมันไม่ดี
- จัดตารางการออกกำลังกายให้กับตัวเองบ้างอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน
- ลดความเครียดจากการทำงาน อารมณ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลให้เกิดโรคได้
น้องกันเองเชื่อว่าเรื่องเหล่านี้เราสามารถเลือกและควบคุมได้ด้วยตัวของเราเอง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดโรคร้าย ที่สำคัญเราต้องหมั่นสังเกตสัญญาณเตือนของร่างกาย หากมีอาการผิดปกติเราควรรีบพบแพทย์ในทันทีนะคะ
ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล :
– รพ.บำรุงราษฎร์ www.bumrungrad.com
– สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ www.chulacancer.net
– สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ www.nci.go.th