ค่าใช้จ่ายรถยนต์

สรุปค่าใช้จ่ายรถยนต์ 1 คัน มีอะไรบ้าง?

รถยนต์ คือยานพาหนะที่เป็นที่นิยมอย่างมาก ที่ผู้คนจะซื้อมาใช้งาน เพื่อการเดินทางที่สะดวกมากขึ้น ซึ่งเราสามารถเดินทางได้ตลอดเวลา ตามใจที่เราต้องการ ไม่ว่าจะไปเที่ยว หรือไปทำงาน และความสะดวกสบายที่ไม่ต้องแออัดเหมือนบนรถโดยสาร แต่ความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้วย  ดังนั้นรถยนต์ 1 คัน จะมีค่าใช้จ่ายอะไรกันบ้างนะ 

1. เงินดาวน์รถยนต์ และเงินผ่อนค่างวดรถยนต์

เงินดาวน์รถยนต์ หมายถึง ค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่ต้องชำระ เพื่อออกรถยนต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราคาเต็มรถยนต์ที่ถูกนำมาคิดคำนวณในการดาวน์รถ เช่น ดาวน์20% ของราคารถยนต์   โดยมีข้อสัญญาว่าจะผ่อนชำระส่วนที่เหลือเป็นงวด ๆ ต่อไป 

เงินผ่อนรถยนต์ หมายถึง การผ่อนชำระส่วนที่เหลือเป็นงวด ๆ (รายเดือน) จากราคาเต็มของรถยนต์ที่หักเงินดาวน์ออกแล้ว และมีการคำนวณดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ตามที่ทำกับสถาบันการเงินหรือธนาคารต่างๆ  ที่ปล่อยสินเชื่อการกู้ยืมซื้อรถให้กับผู้ออกรถ 

ดังนั้น เงินดาวน์รถยนต์ และเงินผ่อนค่างวดรถยนต์จะมีความเกี่ยวข้องกัน คือ ยิ่งดาวน์มาก  ก็จะยิ่งผ่อนน้อยลง หรือยิ่งดาวน์น้อยลง การผ่อนรถก็จะมากขึ้น แต่ค่าผ่อนรถยนต์ต่องวดนั้น ก็ต้องขึ้นกับอัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาในการผ่อนด้วย 

ยกตัวอย่างเช่น ซื้อรถราคาเต็มอยู่ที่ 800,000 บาท เงินดาวน์ 30%  กู้เงินกับสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี และระยะเวลาการผ่อนอยู่ที่ 5 ปี (60 งวด) ดังนั้น การคำนวณคร่าวๆ ของค่างวดรถยนต์ต่อเดือน เป็นดังต่อไปนี้ 

1.1 การดาวน์

ราคารถยนต์ : 800,000 บาท

อัตราการดาวน์ : 30% (240,000 บาท)

ยอดเงินสินเชื่อที่กู้ยืมสถาบันการเงิน = 560,000 บาท (800,000 – 240,0000 )

1.2 การผ่อนชำระรถยนต์ คำนวณได้จาก

1.ยอดเงินสินเชื่อที่กู้ยืม x อัตราดอกเบี้ยต่อปี = ดอกเบี้ยต่อปี  

   560,000  x    5% =  28,000 บาทต่อปี 

2.นำดอกเบี้ยต่อปีที่ได้ x จำนวนปีที่ผ่อนชำระ = ดอกเบี้ยทั้งหมด 

28,000    x    5 = 140,000 บาท 

  1. (นำยอดสินเชื่อเงินที่กู้ยืม + ดอกเบี้ยทั้งหมด ) / จำนวนงวดทั้งหมดที่ผ่อนชำระ = ค่างวดรถต่อเดือน 

(560,000 + 140,000 )/60 = 11,666.67 บาทต่อเดือน 

หมายเหตุ : ตัวอย่างดังกล่าวเป็นแค่เพียงการสมมุติตัวเลขเพื่อแสดงวิธีการคิดคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น อัตราดอกเบี้ย และอัตราเงินดาวน์ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถาบันการเงิน หรือธนาคารที่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อกับผู้ออกรถยนต์ 

2. ค่าพ.ร.บ.

     ค่าพ.ร.บ. คือ ประกันภัยภาคบังคับ ที่เป็นไปตามข้อบังคับกฎหมาย โดยรัฐบาลได้ตรากฎหมายที่เรียกว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) ประกาศ พ.ศ. 2535 เพื่อให้ผู้ที่ประสบภัยจากรถจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย และได้รับการรักษาพยาบาล โดยจะให้ความคุ้มครอง ค่ารักษาพยาบาล , ค่าปลงศพ (กรณีเสียชีวิต) หากเจ้าของรถไม่ทำ พ.ร.บ. มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท  ซึ่งค่า พ.ร.บ.จะขึ้นอยู่กับประเภท และขนาดรถยนต์ โดยมีอัตราเบี้ย พ.ร.บ. ดังตารางต่อไปนี้ 

ที่มาข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการกำกับ และการส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) 

3. ค่าภาษีรถยนต์

     ค่าภาษีรถยนต์ หรือที่ใครหลายคนเรียกว่า ป้ายวงกลม คือ การชำระภาษีที่ต้อง ต่อภาษีทุกปี ตามกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ หากเกิดการไม่ต่อภาษีรถยนต์ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปีจะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ และเจ้าของรถจะต้องนำรถไปจดทะเบียนภาษีรถยนต์ใหม่ โดยต้องคืนป้ายภาษีเก่าพร้อมกับการชำระค่าภาษีย้อนหลัง ซึ่งเจ้าของรถสามารถต่อภาษีรถยนต์ก่อนหมดอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน และการคำนวณค่าภาษีรถยนต์ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของรถ และอายุของรถด้วย ึ่งอัตราการคำนวณภาษีเป็นดังตารางต่อไปนี้ 

ที่มาข้อมูล : กรมการขนส่งทางบก 

ยกตัวอย่างการคำนวณอัตราภาษี เช่น รถยนต์ 4 ประตู เครื่อง 1,500 ซีซี อายุรถ 5 ปี ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ 

การเก็บภาษีรถยนต์ 1-600 ซีซีละ 0.5 : (600 x 0.5) = 300 บาท 

การเก็บภาษีรถยนต์ 601-1,800 ซีซีละ 1.5 : (900 x 1.5) = 1,350 บาท 

ดังนั้น รวมภาษีที่ต้องจ่าย (300 + 1,350) = 1,650 บาทต่อปี 

แต่ถ้าหากอายุรถมากกว่า 6 ปีขึ้นไป ยกตัวอย่างการเสียภาษีเป็น ดังนี้ 

ปีที่ 6 ลด 10% : 1,650 – 10% = 1,485 บาท/ปี 

ปีที่ 8 ลด 30% : 1,650 – 30% = 1,155 บาท/ปี 

ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป : 1,650 – 50% = 825 บาท/ปี 

4. ค่าดูแล บำรุงรักษารถยนต์

     การดูแลรักษารถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะรักษาสภาพการใช้งานให้มีประสิทธิภาพต่อการขับขี่ เพราะอะไหล่ หรือเครื่องมือต่างๆ ของรถยนต์ ย่อมมีการเสื่อมสภาพตามระยะเวลา และการใช้งาน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์ ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษา ยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เช่น 

4.1 ค่าเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

     น้ำมันเครื่องถือว่าเป็นส่วนสำคัญของการทำงานเครื่องยนต์ เนื่องจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยในการชำระล้างสิ่งสกปรก ที่สะสมอยู่ในระบบหม้อน้ำ และชุดส่งกำลังของเครื่องยนต์ ซึ่งน้ำมันเครื่องนั้นมีหลายเกรดหลายคุณภาพ ราคาก็จะแตกต่างกันไป ดังนั้นถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ควรเปลี่ยนตามระยะทาง ทุกๆ 10,000 – 15,000 กิโลเมตร หรือระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ราคาประมาณ 2,xxx ขึ้นไป แล้วแต่ยี่ห้อของสินค้าด้วย 

4.2 ค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่

     แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บ และปล่อยพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้ระบบไฟฟ้าในรถยนต์ทำงาน ซึ่งหน้าที่หลักของแบตเตอรี่ คือ การเก็บพลังงานที่ได้จากกระแสไฟฟ้าที่รถยนต์สร้างขึ้น  และปล่อยพลังงานนั้นเพื่อให้ระบบไฟฟ้าทำงานในรถยนต์ เช่น ไฟหน้ารถ ไฟท้ายรถ ระบบเครื่องเสียง ระบบเซ็นทรัลล็อค เครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์อื่นๆในรถยนต์ ซึ่งการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์จะขึ้นกับระยะเวลา และการใช้งานของเจ้าของรถ  ซึ่งเราควรหมั่นเช็คอย่างน้อย ทุกๆ 6 เดือน ว่าแบตเตอรี่รถยนต์ มีการเสื่อมสภาพลงหรือไม่ โดยส่วนใหญ่อายุการใช้งานประมาณ 2-5 ปี ซึ่งราคาในการเปลี่ยนประมาณ 3,xxx ขึ้นไป แล้วแต่ยี้ห้อของสินค้า 

4.3 ค่าเปลี่ยนยางล้อรถยนต์

     ยางรถยนต์ถือว่ามีบทบาทสำคัญมาก เนื่องจากเป็นตัวขับเคลื่อนในการเดินทาง ที่จะเกาะถนน และปรับเปลี่ยนทิศทางในการขับรถ ดังนั้นการหมั่นดูแลรักษายางล้อมีความจำเป็นมาก เพราะถ้าประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จะทำให้รถเสียหลักจนเกิดอุบัติเหตุได้ ซี่งการเปลี่ยนยางรถยนต์ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานของผู้ขับ ถ้ามีการใช้งานที่ขนของบรรทุกของหนัก การเปลี่ยนยางก็จะเร็วกว่าปกติ ดังนั้นควรตรวจเช็คคุณภาพอยู่เสมอ ว่ายางรถยนต์มีความผิดปกติอะไรที่เกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งราคาในการเปลี่ยนยางรถยนต์จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับคุณภาพ และระยะเวลาใช้งาน ถ้าหากเป็นยางที่มีคุณภาพขึ้นมา ราคา 4 เส้นจะประมาณ หนึ่งหมื่นปลายถึงสองหมื่นบาทขึ้นไป 

5 ค่าน้ำมันรถยนต์

     น้ำมันรถยนต์ ถือว่าเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่จ่ายบ่อยที่สุด เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายอื่น เพราะถ้าหากเราจะใช้รถยนต์ เราก็จำเป็นที่ต้องเติมน้ำมันที่จะมีส่วนในการเดินทางไปยังที่ต่างที่เราต้องการไป ดังนั้นค่าใช้จ่ายในส่วนของการเติมน้ำมันนั้นจะขึ้นอยู่กับการเดินทาง และชนิดของน้ำมันที่เติม ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าเดินทางไปทำงานจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3,000 – 10,000 บาท 

6 ค่าประกันภัยรถยนต์

     การทำประกันภัยรถยนต์ ถือว่าเป็นการสมัครใจในการทำ ไม่ได้เป็นภาคบังคับทำเหมือนอย่าง พ.ร.บ. แต่ประกันรถยนต์นั้นถือว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นการคุ้มครองเกี่ยวกับรถยนต์ ซึ่งเงื่อนไขของการคุ้มครอง ก็ขึ้นอยู่กับ ประเภทของประกันภัยที่เลือกทำ ซึ่งน้องกันเองขอแนะนำถ้ารถยนต์คันใหม่ควรทำประกันภัยชั้น 1 ที่คุ้มครองมากกว่าประกันภัยชั้นอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายในการทำประกันนั้นก็ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันที่เจ้าของรถเป็นคนเลือดังนั้นทาง PROPRAKAN ขอยกตัวอย่างค่าเบี้ยประกันภัยชั้น 1 ที่คัดมาแล้วว่าคุ เป็นทางเลือกให้กับผู้ที่มีรถทุก

ทำประกันกับโปรประกัน ประหยัดค่าประกันรถยนต์ 

เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับค่าใช้จ่ายของการมีรถยนต์ 1 คันที่น้องกันเองได้สรุปมาให้ เป็นแค่ส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายเท่านั้นนะคะ ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร่วมด้วยค่ะ  ซึ่งความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น ย่อมมีราคาที่ต้องจ่ายค่ะ  

ดังนั้นการซื้อรถยนต์จึงต้องมีการวางแผนทางการเงิน แต่อีกหนึ่งทางเลือกที่ดี คือ การซื้อประกันภัยรถยนต์ เพื่อจะได้ปกป้องรถยนต์ และเจ้าของรถจากความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ค่ะ  เช่น กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือความเสียหายกับรถยนต์ อาจจะมีค่าซ่อมแซม หรือค่าชดเชยความเสียหายที่สูง แต่หากได้ซื้อประกันรถยนต์ไว้            ที่เงื่อนไขเป็นไปตามความคุ้มครอง ผู้ทำประกันก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวลงได้ค่ะ 

สุดท้ายนี้ถ้าคิดถึงประกันภัย อย่าลืมคิดถึง PROPRAKAN นะคะ   

 #โปรประกันเป็นกันเอง #คัดมาแล้วว่าคุ้ม #ประกันรถยนต์ #ประกันอุบัติเหตุ #ประกันอะไหล่รถยนต์