ใบขับขี่ เป็นใบที่มีความสำคัญที่จำเป็นต้องมี เวลาขับรถบนท้องถนน และในบางครั้ง เรามักจะได้ยินคำว่า ใบขับขี่ ประเภท บ. หรือ ท. ซึ่งอาจจะทำให้หลายคน เกิดความสงสัยว่าประเภทดังกล่าวคืออะไร สามารถใช้ขับรถอะไรได้บ้าง และความแตกต่าง ของประเภท บ. กับ ประเภท ท. ต่างกันอย่างไรนะ
ซึ่งหลัก ๆ แล้ว ใบขับขี่ หรือถ้าหากเรียกตาม พ.ร.บ. ขนส่งกำหนด จะคือ ใบอนุญาตขับรถ จะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1 ) ประเภท ส่วนบุคคล หรือที่เรียกว่า ประเภท บ. และ 2 ) ประเภท ทุกประเภท หรือที่เรียกว่า ประเภท ท.
ใบขับขี่ ประเภท ส่วนบุคคล (ใบขับขี่ บ.)
คือ ใบอนุญาตขับขี่ ที่สำหรับใช้งานส่วนบุคคล หรือขนส่งการค้าธุรกิจส่วนตัว ซึ่งจะเป็นแผ่นป้ายทะเบียนสีขาว ตัวอักษรสีดำ โดยสามารถแบ่งย่อย ๆ ออกมาได้เป็น 4 ชนิด คือ
ใบขับขี่ชนิดที่ 1 หรือเรียกว่า ใบขับขี่ บ.1
คือ ใบขับขี่ เฉพาะขนส่งหรือใช้งานส่วนบุคคล ที่มีการบรรทุกน้ำหนักรวมไม่เกิน 3,500 กิโลกรัม หรือบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 20 คน เช่น รถตู้ส่วนบุคคล รถยนต์ส่วนบุคคล รถกระบะ และอายุที่สามารถทำได้ ต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ใบขับขี่ชนิดที่ 2 หรือเรียกว่า ใบขับขี่ บ.2
คือ ใบขับขี่ เฉพาะขนส่งหรือใช้งานส่วนบุคคล ที่มีการบรรทุกน้ำหนักรวมเกิน 3,500 กิโลกรัม หรือบรรทุกคนโดยสารเกิน 20 คน เช่น รถบรรทุกส่วนตัว และอายุที่สามารถทำได้ ต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
ใบขับขี่ชนิดที่ 3 หรือเรียกว่า ใบขับขี่ บ.3
คือ ใบขับขี่ เฉพาะขนส่งหรือใช้งานส่วนบุคคล ที่ลักษณะการใช้รถเกี่ยวกับการบรรทุก หรือ การลากจูง เช่น รถพ่วง รถเทรลเลอร์ และอายุที่สามารถทำได้ ต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
ใบขับขี่ชนิดที่ 4 หรือเรียกว่า ใบขับขี่ บ.4
คือ ใบขับขี่ เฉพาะขนส่งหรือใช้งานส่วนบุคคล สำหรับรถที่มีการบรรทุกวัตถุอันตราย เช่น รถบรรทุกของไวไฟ ,รถบรรทุกก๊าซ,รถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง และอายุที่สามารถทำได้ ต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป
ใบขับขี่ ประเภท ทุกประเภท หรือสาธารณะ (ใบขับขี่ ท.)
คือ ใบอนุญาตขับขี่ ที่สามารถใช้งานสำหรับรถรับจ้างสาธารณะได้ ทั้งรถประจำทาง และรถไม่ประจำทาง ซึ่งป้ายทะเบียนจะเป็นป้ายสีเหลือง ตัวอักษรสีดำ โดยสามารถแบ่งย่อย ๆ ออกมาได้เป็น 4 ชนิด
ใบขับขี่ชนิดที่ 1 หรือเรียกว่า ใบขับขี่ ท.1
คือ ใบขับขี่ สำหรับรถรับจ้างสาธารณะ ที่มีการบรรทุกน้ำหนักรวมไม่เกิน 3,500 กิโลกรัม หรือบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 20 คน เช่น รถแท็กซี่ รถส่งของ รถตู้สาธารณะ และอายุที่สามารถทำได้ ต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป
ใบขับขี่ชนิดที่ 2 หรือเรียกว่า ใบขับขี่ ท.2
คือ ใบขับขี่ สำหรับรถรับจ้างสาธารณะ ที่มีการบรรทุกน้ำหนักรวมเกิน 3,500 กิโลกรัม หรือบรรทุกคนโดยสารเกิน 20 คน เช่น รถบัส รถทัวร์ รถเมล์ รถบรรทุก และอายุที่สามารถทำได้ ต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป
ใบขับขี่ชนิดที่ 3 หรือเรียกว่า ใบขับขี่ ท.3
คือ ใบขับขี่ สำหรับรถรับจ้างสาธารณะ ที่ลักษณะการใช้รถเกี่ยวกับการบรรทุก หรือ การลากจูง เช่น รถพ่วง รถเทรลเลอร์ และอายุที่สามารถทำได้ ต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป
ใบขับขี่ชนิดที่ 4 หรือเรียกว่า ใบขับขี่ ท.4
คือ ใบขับขี่ รถสาธารณะ สำหรับรถที่มีการบรรทุกวัตถุอันตราย เช่น รถบรรทุกของไวไฟ ,รถบรรทุกก๊าซ,รถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง และอายุที่สามารถทำได้ ต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป
ยกตัวอย่างใบขับขี่แต่ละประเภท สามารถขับรถอะไรได้บ้าง
ยกตัวอย่างรถที่สามารถขับได้ | |||
ใบขับขี่สำหรับใช้งานเฉพาะส่วนบุคคล (บ.) | บ. | ท. | ใบขับขสำหรับใช้งานสาธารณะ (ท.) |
บ.1 | รถยนต์ , รถตู้ , รถกระบะ | รถแท็กซี่ , รถตู้สาธารณะ , รถส่งของ | ท.1 |
บ.2 | รถบรรทุกส่วนตัว | รถบัส , รถทัวร์ , รถเมล์ , รถบรรทุก | ท.2 |
บ.3 | รถพ่วง รถเทรลเลอร์ | ท.3 | |
บ.4 | รถบรรทุุกวัตถุไวไฟ , รถบรรทุกก๊าซ , รถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง | ท.4 | |
ป้ายทะเบียนสีขาวตัวอักษรสีดำ | ป้ายทะเบียนสีเหลืองตัวอักษรสีดำ |
หมายเหตุ: ใบขับขี่ประเภท ท. ของแต่ละชนิด สามารถขับรถของ ประเภท บ. ตามชนิดเดียวกันได้
ดังนั้นสรุปแล้วว่า ใบขับขี่ประเภท ท. และ ประเภท บ. ของแต่ละชนิดจะมีลักษณะการใช้ และรายละเอียดที่คล้ายกัน แต่ต่างกันตรงที่ ใบขับขี่ประเภท บ. จะใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลเท่านั้น และป้ายทะเบียนรถจะเป็นสีขาว ตัวอักษรสีดำ ซึ่งใบขับขี่ ประเภท ท. จะเป็นการใช้ขนส่งสาธารณะ และผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถประเภท ท. ของแต่ละชนิด จะสามารถขับรถของประเภท บ.ได้ รวมถึง ใบขับขี่ประเภท ท.4 จะสามารถขับรถได้ทุกประเภท ยกเว้นแค่ขับรถจักรยานยนต์ที่ต้องมีใบขับขี่แยกมาเพิ่มอีกใบ
เป็นอย่างไรบ้างคะ พี่ ๆ กับบทความที่น้องกันเองสรุปมาให้เกี่ยวกับประเภทของใบขับขี่ ประเภท ท. และ ประเภท บ. ว่ามันคืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร และทาง PROPRAKAN หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับพี่ ๆ ทุกท่านนะคะ สุดท้ายนี้ คิดถึงประกันภัย อย่าลืมคิดถึง โปรประกันนะคะ