สุขภาพจิต

เช็คสุขภาพจิต ก่อนจะเป็นพิษต่อตัวคุณ

[vc_row][vc_column][vc_column_text]

เราคงได้ยินกับคำว่า สุขภาพกายที่ดี มักมาพร้อมกับสุขภาพจิตที่ดีเสมอ ทำไมนะ?

[/vc_column_text][vc_single_image image=”312862″ img_size=”large” alignment=”center” image_hovers=”false”][vc_column_text]

สุขภาพกายที่ดี คืออะไร

สุขภาพกายที่ดี สามารถบ่งบอกได้หรือสังเกตุได้จากสภาพและการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น การไม่มีโรค ไม่เจ็บป่วย การที่ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างปกติ ไม่ปวดเมื่อย หรือไม่มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย มีรูปร่างสมส่วน ไม่อ้วนหรือไม่ผอมจนเกินไป สุขภาพร่างกายแบบนี้ก็ล้วนแต่เกิดมาจาก การดูแลตัวเอง ด้วยการรับประทานอาหารที่ดี ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ บุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็นคนที่มีสุขภาพกายที่ดี

[/vc_column_text][vc_single_image image=”312863″ img_size=”large” alignment=”center” image_hovers=”false”][vc_column_text]

สุขภาพจิตที่ดี คืออะไร

สภาวะของสุขภาพจิตนั้น บางคนสามารถรับรู้ได้ด้วยตัวเอง บางคนอาจจำเป็นต้องให้คนรอบตัวบอก แต่ก็มีหลายคนที่เลือกจะยอมรับรู้แต่สภาวะที่ดี และปฏิเสธที่จะยอมรับสภาวะที่ไม่ปกติ ที่คนข้างเคียงอื่นบอกกล่าว เพราะสภาวะสุขภาพจิตที่ไม่ปกติ จะหมายถึง คนที่เป็นโรคจิต เป็นคนบ้า หรือ เป็นคนที่ไม่สามารถใช้ชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นได้ จึงกลายเป็นเรื่องที่น่าอายที่จะยอมรับ ซึ่งทำให้ไม่อยากเข้าไปปรึกษาแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยโรค และรักษา

สุขภาพจิตที่ดี คือ การไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด ไม่วิตกกังวลเกินเหตุ การมีสภาวะจิตใจที่ปกติ พร้อมเผชิญหน้ากับปัญหาหรือเหตุการณ์ร้ายต่างที่เกิดขึ้นพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความสมหวัง และความผิดหวัง รวมถึงการปล่อยวางไม่ยึดติดกับสิ่งใดมากเกินไป รักตัวเอง สามารถรับรู้สุข รับรู้การยินดี และรู้วิธีการคลายทุกข์ในแบบของตนเอง ซึ่งนั่นก็เหมือนเป็นการใช้ชีวิตปกติ

ในทางกลับกัน หากตัวอย่างสภาวะจิตใจข้างต้นเป็นตรงกันข้าม และไม่ได้รับการปลดล็อคหรือคลายทุกข์ จะทำให้กลายเป็นสภาวะสุขภาพจิตไม่ดีสะสม และส่งผลให้สารเคมีในสมองไม่สมดุล

สุขภาพกายที่ดี มักมาพร้อมกับสุขภาพจิตที่ดีเสมอ นั่นเพราะคนที่จะมีสุขภาพดีได้ จะต้อง เลือกทานอาหารที่ดี ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ช่วงที่ออกกำลังกายนั้น

ร่างกายก็จะหลั่งสารชื่อ ซีโรโทนิน ช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดี มีความสุข สงบ ลดความเครียด ลดความวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น นี่คือภาวะของสุขภาพจิตที่ดี

งั้นลองมาเช็คสุขภาพจิตของเรากันเถอะ

[/vc_column_text][vc_single_image image=”312864″ img_size=”large” alignment=”center” image_hovers=”false”][vc_column_text]

คุณกำลังมีปัญหาเหล่านี้หรือไม่

-คุณมีปัญหาการนอนไม่หลับบ่อยครั้ง หรือนอนไม่ค่อยหลับมานานเป็นเดือน

-คุณอยากแยกตัว เก็บตัวอยู่คนเดียว ไม่อยากพูดคุยกับใคร

-คุณมีอาการเบื่ออาหาร ผอม หรือน้ำหนักลดลงเร็วกว่าปกติ หรือไม่สามารถควบคุมการกินได้

-อยู่ๆคุณก็ไม่มีสมาธิ ช่วงขณะ กับเรื่องทั่วๆไป ที่เคยทำได้มาเสมอ

-คุณร้องไห้บ่อยครั้ง รู้สึกตัวเองไร้ค่า ตำหนิตัวเอง มองเห็นแต่ข้อผิดพลาด และปัญหา

ข้อสุดท้าย คุณมีอาการเจ็บป่วยทางกายแบบหาสาเหตุไม่ได้

เช่น

– หัวใจเต้นเร็วขึ้น – แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก -หน้ามึด เวียนศรีษะ

-อ่อนเพลียไม่มีแรง -ปวดท้อง เป็นโรคกระเพาะเฉียบพลัน -เหงื่อออกตามข้อพับ

-ปวดหลัง ปวดหัว -อ้วก อาเจียน -ชามือและเท้า

เหล่านี้คืออาการแฝงที่เรียกว่า ภาษาร่างกายแห่งความเครียด (body language of stress)[/vc_column_text][vc_single_image image=”312865″ img_size=”large” alignment=”center” image_hovers=”false”][vc_column_text]

ในปัจจุบันบุคคลที่มีสภาวะสุขภาพจิตไม่ปกติมีอัตราสูงขึ้นทุกๆปี ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจ ทางสังคม จากภัยโรคร้าย การแข่งขัน การเข้าถึงสื่อ สังคมออนไลน์ Social Media เช่น Facebook Twitter Instagram และอื่นๆ การได้รับการยอมรับในสังคมปัจจุบัน ถูกเปรียบเทียบตัวเองกับวงกว้างมากขึ้น สังเกตจากเด็กยุคเก่า กับยุคใหม่ มีความสุขต่างกัน หากเป็นสมัยก่อนการเรียนได้ที่ หนึ่งของห้องคือ ดีใจมากแล้ว ในปัจจุบันเมื่อได้เห็นเพื่อนมากขึ้น ทำให้บางคนนำมาเปรียบเทียบกับชีวิตตัวเองจากการเสพสื่อออนไลน์ กลายเป็นการแข่งขันกับเพื่อนวงกว้าง และกดดันให้ตัวเองอยู่ในสภาวะเครียดได้ บางครอบครัวใช้สื่อออนไลน์ในการพูดคุย ใช้เครื่องมือสื่อสารเป็นตัวกลาง ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวลดน้อยลง การปรับความรู้สึกใกล้ชิด กำลังใจ หรือภาวะความอบอุ่นทางใจลดน้อยลงตามไปด้วย ทั้งนี้หากสะสมความรู้สึกแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้เป็น โรคเครียดสะสมและส่งผลต่อสุขภาพจิตในอนาคตได้

คนไทยเกือบ 91% ยอมรับว่าตนเองอยู่ในภาวะเครียด สุขภาพจิตมีปัญหา ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ในระดับ 86% แยกเป็น 2 แบบ (https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30554)

1. เครียดแบบสามารถจัดการเองได้ 81%

คือกลุ่มคนที่ มีวิธีคลายความเครียดด้วยตัวเองได้

2. เครียดแบบไม่สามารถจัดการได้ 10 %

คือ กลุ่มคนที่ต้องเข้ารักษาทางการแพทย์เท่านั้น

กลุ่มคนอายุ 18-35 ปี จะมีปัญหาเรื่องความสมดุลของการทำงานและชีวิตส่วนตัว รวมถึงกังวลเรื่องความมั่นคงในชีวิตในหน้าที่การงานมากที่สุด

หากคุณหรือเพื่อน คนในครอบครัว เคยมีอาการเหล่านี้ ไม่ต้องกังวลใจ ควรแนะนำให้เข้าพบจิตแพทย์ เพื่อได้ขอคำแนะนำ และการรักษาที่ถูกต้อง การให้กำลังใจจากคนใกล้ตัว ก็เป็นยาอย่างหนึ่งที่ช่วยรักษาได้เช่นกัน

วิธีดูแลสุขภาพจิตของคุณ

(https://hellokhunmor.com/สุขภาพจิต/การเมตตาตนเอง-สุขภาพจิต-ความสุข)

1. รักและเมตตาตัวเอง

เมื่อไหร่ที่เราใช้พลังกายมากไป เรายังต้องการพักกายพักเหนื่อย จิตใจเราก็เช่นกัน หาเวลาพักใจ ปล่อยใจไปกับธรรมชาติ ทะเล หรือสิ่งที่ตัวเองมีความสุขบ้าง อย่ามัวแต่คิดเรื่องงาน หรือภาระในทุกเวลาของชีวิต

2. เมตตาตัวเอง

ควรเป็น มีมุทิตาจิตให้ตัวเอง ชื่นชมตัวเอง ชื่นชมในความพยายามในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ให้ใจเรารับรู้ว่าได้เต็มที่แล้ว ส่งผลให้เราเติมความสุข ความภูมิใจได้ด้วยตัวเอง

3. เห็นคุณค่าในตัวเอง

ทุกคนมักมีมุมข้อดีของความภูมิใจในตัวเองของเรื่องใดเรื่องหนึ่งเสมอ และจงยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบของตนเอง จะทำให้เราไม่ติดกับดักทางใจ

สุขภาพกายที่ว่าแน่ ยังไม่แท้เท่าสุขภาพใจที่ดี การรักตัวเอง เมตตาตัวเอง เห็นคุณค่าตัวเอง ยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบของชีวิต อย่าหวังว่าชีวิตจะไม่มีอุปสรรค ให้หวังว่าทุกปัญหาทุกอุปสรรคจะทำให้เราเติบโต และมันสามารถแก้ไขได้เสมอ

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]